เข้ามาถึงสยามอย่างไร ความเป็นมาของขี่ม้าโปโลประเทศไทย สำหรับในประเทศไทย

เข้ามาถึงสยามอย่างไร กีฬาโปโลเริ่มเข้ามาในสมัย ร. 6 แต่ก็ขีดวงจำกัดเฉพาะชนชั้นสูงและชาวต่างประเทศ เนื่องด้วยข้อจำกัดต่างๆโดยเฉพาะเรื่องของค่าใช้จ่ายในการซื้อและดูแลม้า ทำให้กีฬาชนิดนี้ค่อยๆเงียบหายไป

กระทั่งเมื่อ 15 ปีก่อน ได้มีการนำกีฬาชนิดนี้กลับมาให้เป็นที่รู้จักอีกครั้งด้วยการผลักดันของ วิชัย รักศรีอักษร ประธานบริหารกลุ่ม คิง เพาเวอร์ ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจกระทั่งกีฬาโปโลได้รับการยอมรับ

มีการจัดตั้งเป็น สมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจากกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) และมีการบรรจุการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ จ. นครราชสีมา เมื่อปี 2550 มาแล้ว

นอกจากความสนุกสนานของกีฬาชนิดนี้แล้วสิ่งสำคัญที่กีฬาขี่ม้า โปโลกับผู้ที่เข้าไป สัมผัสซึมซับได้ ก็คือ สปิริตและน้ำใจ ของนักกีฬา เล่าถึงความหลังสักนิด

เนื่องจากกีฬาชนิดนี้ มีความเร็วสูง ทั้งต้องใช้ไม้ตีลูก ทำให้โอกาสที่ จะเกิดอุบัติเหตุ มีขึ้นง่ายๆ รวมถึงหากมี การกลั่นแกล้งกันในสนาม ก็สามารถทำได้ง่ายๆ

และหากเกิดขึ้นจริงก็มีโอกาสได้รับบาดเจ็บสูง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเพราะผู้เล่นทุกคนเคารพกติกาอย่างดี อาจมีเพียงกระทบกระทั่งกันเล็กน้อย เป็นแค่ในเกมส์ หลังจบการแข่งขันก็จับมือกัน

ทั้งหมดเพียงอยากให้ท่านได้ลองสัมผัสดู แม้ไม่เคยขี่ม้ามาก่อนก็มีคนสอน ให้จนกระทั่งเล่นเป็น สำหรับท่านที่ยังลังเลว่าจะเล่นดีหรือไม่เล่นดี ลองมาสัมผัสการแข่งขันประจำปี

เข้ามาถึงสยามอย่างไร

ซึ่งจะจัดการแข่งขันงานใหญ่ขึ้น 3 ครั้ง

คือ คิง เพาเวอร์ โกลด์ คัพ, แอมบาสเดอร์ คัพ และถ้วยใหญ่ประจำปี ไทยแลนด์ โปโล คิงส์คัพ ซึ่งกำลังจะมีขึ้นในเดือนมกราคมนี้โดยรอบชิงชนะเลิศจะจัดขึ้นในวันที่ 30 มกราคม 2553 นี้ กีฬาขี่ม้า

ณ สนามวีอาร์ สปอร์ตคลับ บางบ่อ เป็นการแข่งขันในระดับนานาชาติ ที่บางทีมก็เคยมาร่วมแข่งขันที่ประเทศไทยแล้ว เช่น บรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์และบางชาติยังไม่เคยมาร่วมการแข่งขันที่เมืองไทย ยังไงก็ลองไปชมไปเชียร์กันดูก่อน

ที่สำคัญสำหรับลูกค้าของ คิง เพาเวอร์ จะได้รับสิทธิพิเศษ มากมาย โดยเฉพาะ การซื้อสินค้า ที่ราคาถูกกว่าเดิม ที่ คิง เพาเวอร์ จะไปเปิดบูธ จำหน่ายถึงสนาม รวมถึง รับของที่ระลึก อีกมากมายด้วย งานนี้พลาด ไม่ได้เด็ดขาด

ในเดือนสิงหาคม 2541 ด้วยความหลงใหล ในกีฬา ขี่ม้าโปโล ของคนไทย กลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง “สมาคมขี่ม้าโปโล” ก็ถือกำเนิดขึ้น เพื่อจุดประสงค์หลัก ในการเผยแพร่ ให้ทัดเทียมกับประเทศต่างๆ

สมาคมฯ ดำเนินการจัดการแข่งขันขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันภายในประเทศหรือการแข่งขันต่างประเทศก็ตาม และเป้าหมายในลำดับต่อไปของทางสมาคมฯ ดูบอลสด

ก็คือ การจัดการแข่งขันระหว่างประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้น ในลักษณะของการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งในเบื้องต้นนี้ มีทีมจากประเทศมาเลเซีย บรูไน และฟิลิปปินส์ ตอบรับแนวคิดดังกล่าวนี้แล้ว

สำหรับการแข่งขันครั้งสำคัญซึ่งถือเป็นประวัติหน้าใหม่ของกีฬาขี่ม้า ของประเทศไทย ที่ทางสมาคมฯ เป็นผู้จัดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเมื่อ เดือนมกราคม 2545

โดยมีนักกีฬามือหนึ่ง ของประเทศอังกฤษ และนักกีฬามือหนึ่ง ของประเทศออสเตรเลีย มาร่วม การแข่งขันดังกล่าว ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า ทีมชาติไทย ชนะทีมชาติเยอรมันนี ไปด้วยคะแนน 7 – 6

ส่วนการแข่งขัน ในต่างประเทศ ที่สำคัญนั้น เกิดขึ้น ในเดือนสิงหาคม 2545 และเดือนกรกฎาคม 2546 โดยสมาคมฯ ได้ส่งทีม ไปร่วมการแข่งขัน ที่ประเทศอังกฤษ

ซึ่งเป็นการแข่งขันกับทีมจากประเทศนอร์เวย์ และสมาคมฯ ประสบความสำเร็จด้วยการคว้าชัยชนะ 2 ปีติดต่อกัน แต่การแข่งขันที่นับว่าเป็นการแข่งขันที่สำคัญที่สุด ที่นับได้ว่า ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเป็นการแข่งขันระหว่างทีมชาติไทยและทีมชาติเยอรมันนี

ซึ่งผลการแข่งขัน ปรากฏว่า ทีมชาติไทย ชนะไปด้วยคะแนน 8 – 6 ซึ่งในครั้งนั้น ทางสมาคมฯ ได้รับเกียรติจากนักกีฬา หมายเลขหนึ่งของโลก,อโดลโฟ แคมคาเสีย เข้าร่วมการแข่งขัน ในทีมชาติไทยด้วย

เมื่อเดือนธันวาคม 2546 สมาคมฯ ได้รับอนุญาตจากการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ให้เป็นสมาคมกีฬาที่ได้รับรองจาก กกท. และได้รับอนุญาตให้เป็น “สมาคมขี่ม้าโปโลแห่งประเทศไทย” เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547

โดยทางสมาคมฯ วางเป้าหมายใหม่ในการที่จะพยายามผลักดันให้ ได้รับบรรจุ เป็นกีฬาหนึ่งในมหกรรมกีฬา ซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพ การแข่งขันในครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญอันเปรียบเสมือนตัวชี้วัด ความพร้อมในพัฒนา ในประเทศไทย